ดี-เจเนซิส : สามปีหลังจากดันเจียนปรากฏขึ้น - ตอนที่ 11 เล่ม 1 : D-Powers, เริ่มทำงานได้
- Home
- ดี-เจเนซิส : สามปีหลังจากดันเจียนปรากฏขึ้น
- ตอนที่ 11 เล่ม 1 : D-Powers, เริ่มทำงานได้
26 ตุลาคม 2018 (วันศุกร์)
ก่อตั้งปาร์ตี้
ผ่านไปได้หนึ่งเดือนเเล้วหลังจากที่ผมกลายเป็นนักสำรวจเเรงค์หนึ่ง ผลจากการที่ผมฟาร์มสไลม์อย่างต่อเนื่องในโยโยกิดันเจี้ยนชั้น1 ทำให้ผมมีสกิลออร์บตามนี้เก็บอยู่ในวอลต์
สกิลออร์บ : สโตเรจ x1
สกิลออร์บ : :การฟื้นฟูสุดยอด x1
สกิลออร์บ : เวทมนตร์น้ำ x4
สกิลออร์บ : การป้องกันทางกายภาพ x4
ต้องขอบคุณเรื่องนี้ที่ทำให้ผมลาออกจากงานได้ เเถมมิโยชิก็ยังยื่นใบลาออกเเล้วด้วย จากที่เธอเล่ามา วิธีที่บริษัทพยายามรั้งเธอไว้นั้นมันเข้มข้นกว่าคราวผมซะอีก มิโยชิที่กำลังหวาดกลัวนั้นถูกบังคับให้เข้าไปในห้องเเคบๆ เเละสัมภาษณ์เหตุผลที่ลาออกอย่างตึงเครียด
เเต่ถึงอย่างไรก็ตาม กำไรที่น่าจะได้จากการขายออร์บเวทย์น้ำ น่าจะทำให้ผมกับมิโยชิอยู่ได้อีกสักพัก
“เคย์ ในญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน ถ้าไม่เปิดเผยชื่อจะทำธุรกิจอะไรได้ยากมากเลยนะ” มิโยชิเตือน
การจัดสรรปันส่วนกำไรที่ได้นั้นทำได้ยาก ในยุคปัจจุบัน ไม่ว่าคุณจะทำยังไงก็ตาม การเคลื่อนย้ายกำไรไปไหนก็เเล้วเเต่นั้นจะต้องเสียภาษีทั้งหมด เพราะฉะนั้นคุณต้องเปิดเผยชื่อหรือไม่ก็ต้องเสียภาษีมหาศาล
ลองจินตนาการถึงการสร้างบริษัท มีการจัดทำทะเบียนผู้ถือหุ้น เเละมีการจ่ายปันผลในขณะที่ยังไม่ได้เป็นบริษัทมหาชน ก็จะมีเเค่ผู้ถือหุ้นกับสถาบันการเงินเท่านั้นที่จะสามารถดูทะเบียนได้ เเล้วคุณก็จะคิดว่าเสียภาษีเเค่ 20% หน่อยๆใช่ไหมล่ะ ถ้าคุณคิดเเบบนี้ล่ะก็ผิดมหันต์เลย บริษัทขนาดใหญ่ที่ยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์นั้นจะเสียภาษีจากรายได้รวมทั้งหมด เเละเงินปันผลก็ต้องจ่ายภาษีเเบบอัตราก้าวหน้า ซึ่งรวมถึงภาษีเงินได้กับภาษีผู้อยู่อาศัย
สรุปคือต้องเสียภาษี 55%
“ไม่เเปลกใจเลยที่คนจะใช้บริการเเหล่งพักภาษี” มิโยชิร้อง
มิโยชิคิดที่จะก่อตั้งบริษัทในต่างประเทศเเละทำการซื้อขายที่นั่น เเต่เพราะปกติเเล้วเธอไม่ค่อยมีความมั่นใจ ก็เลยหยุดเเผนการนี้ไว้ก่อน เธอบอกว่า “ฉันเเค่รู้สึกผิดน่ะ รู้ไหม”
”เพราะฉะนั้น ฉันเลยตัดสินใจใช้ระบบปาร์ตี้” เธอสรุป
เมื่อลงดันเจี้ยนด้วยกัน ระบบปาร์ตี้นั้นจะช่วยให้กลุ่มๆนั่นเเบ่งกำไรกันได้ ตอนแรกปาร์ตี้จะเเค่เอาไว้ซื้อขายอาวุธเครื่องป้องกันสำหรับของทั้งทีม ผมก็ไม่รู้ว่าระบบภาษีมันทำงานยังไง แต่เหมือนว่าปาร์ตี้นั้นจะถือว่าเป็นนิติบุคคลเหมือนกัน
หัวหน้าปาร์ตี้จะต้องจัดการสมาชิกในแบบเดียวกันกับบริษัทหรือผู้ถือหุ้น
”นายต้องไม่เชื่อเเน่ๆว่าฉันต้องทำงานหนักขนาดไหน” มิโยชิยืดอกอย่างภาคภูมิใจ ”ขนาดตอนไปถามนักบัญชี ฉันยังเเทบไม่เข้าใจอะไรสักอย่าง ระบบภาษีมันไม่ควรจะต้องเค้นหัวสมองมาเพื่อทำให้เสียเงินน้อยที่สุดสิ เหมือนกับรัฐบาลกำลังบอกพวกเราว่า ‘ถ้าโง่ก็จ่ายเงินมา’เลยนี่นา”
”มีความพยายามที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงกฏหมายภาษีเหมือนกัน” มิโยชิเริ่มสอนผม ”แต่ว่าสิ่งที่อยากจะเปลี่ยนนั้นมันไปในคนละเเนวทางกับกฏหมายภาษีปัจจุบัน พวกนักกฏหมายเลยต้องคิดอย่างรอบคอบเรื่องความสอดคล้องของกฏหมาย ภาษีนั้นมีโครงสร้างของมันอยู่เเล้ว เรื่องนี้ทำให้ฉันนึกถึงหลักศิลปศาสตร์ข้อนึง ที่เเม้ว่าระบบมันจะแย่หรือไม่สมเหตุสมผลขนาดไหน แต่ตราบเท่าที่มันยังคงอยู่ได้เเละทำงานด้วยกันได้โดยไร้ข้อบกพร่อง ระบบนั้นก็สามารถเป็นที่ยอมรับได้ แต่ฉันก็คิดมาตลอดเลยว่าภาษีเนี่ยควรจะออกเเบบให้คนธรรมดาคิดเองได้หน่อยเถอะ”
”ถ้าเป็นอย่างงั้น พวกที่ปรึกษาด้านภาษีก็ตกงานหมดสิ”
”ขนาดร้านอาหารจานด่วนยังมีการจัดเซ็ตมาขายถูกๆเลยนะ แต่กรมสรรพากรไม่ทำแบบนั้น พวกนั้นน่าจะอยากสูบเลือดสูบเนื้อเราทุกบาททุกสตางค์”
”ก็ตอนนี้ญี่ป่นก็ติดตัวแดงอยู่นี่นา”
เหมือนว่าการตั้งปาร์ตี้นั้นจะต้องใช้เงินมากจนน่าตกใจ จนทำให้มิโยชิครวญครางไม่หยุดว่า ”เงินเก็บของข้า ของรักของข้า”(1)
พวกเรากัดฟันจ่ายเงินไปคนละสามเเสนเยน เงินนี้ครอบคลุมค่าดำเนินการทางกฏหมายเเละการสร้างตราประทับลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ(2)
พอเงินเก็บของพวกเราร่อยหรอ มิโยชิเลยคิดจะสร้างเวปไซต์เพื่อขายออร์บขึ้นมาเร็วๆนี้
”ออร์บพวกนี้ต้องขายได้เเน่ๆ” เธอพูด ”ถึงจะมีค่าใช้จ่ายที่นึกไม่ถึงพวกนี้ด้วย แต่เราก็น่าจะได้กำไรนะ ถึงอาจจะเเค่นิดเดียวก็เถอะ”
มิโยชินี่ทำงานหนักชะมัด
เราใส่ที่อยู่ของปาร์ตี้เป็นตึกที่มิโยชิอยู่ แต่ที่ทำงานจริงๆก็จะเป็นห้องกินข้าวของผม เธอเสนอว่าให้เราย้ายไปที่ใหม่ถ้าเริ่มมีกำไร แต่ผมไม่เห็นด้วย คิดว่าที่อยู่ตอนนี้ก็ดีอยู่เเล้วไปอีกสักพัก
ชื่อปาร์ตี้น่ะหรอ ”ดันเจี้ยน พาวเวอร์ส” ไงล่ะ
เป็นความผิดของมิโยชิเลย ตอนกำลังเมาๆจากไวน์ เธอก็ดันส่งชื่อที่ฟังดูเหมือนพวกต้มตุ๋นนี้ไป แต่ก็น่าแปลกใจที่เธอดูพอใจกับชื่อนี้ไม่น้อย
ดังนั้น พอส่งคำขอก่อตั้งปาร์ตี้เรียบร้อย(อีโมจิร้องไห้) ปาร์ตี้ของพวกเราก็ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยมีมิโยชิเป็นหัวหน้าและมีผมเป็นสมาชิก
บทที่ 2 : D-Powers, เริ่มทำงานได้
1 พฤจิกายน 2018 (วันพฤหัสบดี)
หน่วยงานดันเจี้ยน คาสุมิคาเซกิ
”ครับ ผมเข้าใจเเล้วครับ ขอบคุณที่ติดต่อมา ทางเราจะตรวจสอบเรื่องนี้ครับ”
ชายที่ทำงานที่หน่วยงานดันเจี้ยนนั้นวางสายพร้อมถอนหายใจ
หน่วยงานดันเจี้ยนเป็นหน่วยงานที่จัดการดันเจี้ยนทั่วญี่ป่นตรงตามชื่อ ถึงภายในดันเจี้ยนจะเป็นขอบเขตอำนาจของWDA เเต่โดยส่วนมากเเล้วหน่วยงานดันเจี้ยนจะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางติดต่อกับJDA กระทรวงทั้งหลายและหน่วยงานรัฐต่างๆ
ภายในเวลาไม่นานหลังจากการปรากฏตัวขึ้นของเดอะลิงค์ WDAก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเพราะจำเป็นต้องมีองค์กรที่จะมาบริหารดันเจี้ยน และด้วยความที่ว่าWDAนี้มีอำนาจเหนือทุกๆดันเจี้ยน กระทรวงเเละหน่วยงานรัฐจึงให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด
จากมุมมองด้านทรัพยากร กระทรวงการค้าเเละอุตสาหกรรมเลยพยายามจะจัดดันเจี้ยนให้อยู่ภายใต้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติเเละพลังงาน ยังมีมุมมองจากด้านการวิจัยที่ทำให้กระทรวงกระทรวงการศึกษาวิจัยและเทคโนโลยี พยายามที่จะสร้างสำนักงานใหญ่สำหรับส่งเสริมการวิจัยดันเจี้ยน เหมือนกับที่สร้างสำนักงานใหญ่เพื่อส่งเสริมการวิจัยแผ่นดินไหว
ยังมีกระทรวงการบริหารงานภายในและการสื่อสาร ที่พยายามก่อตั้งหน่วยงานจัดการดันเจี้ยนเอาไว้ภายใต้หน่วยงานการจัดการอัคคีภัยและภัยพิบัติ ซึ่งหน่วยงานนี้ที่จริงเเล้วไมไ่ด้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงนี้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เเต่ว่าจะไปรับคำสั่งจากหน่วยบัญชาการควบคุมความเสียหายหรือรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีฝ่ายการจัดการวิกฤตเเทน ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้กระทรวงการบริหารงานภายในและการสื่อสารพยายามใช้โอกาสนี้ในการปฎิรูปให้ตนเองมีอำนาจครอบคลุมไปถึงตอนมีเหตุฉุกเฉินด้วย โดยใช้ดันเจี้ยนเป็นเหตุผล
เเม้กระทั่งกระทรวงยุติธรรมก็ยังพยายามจะสร้างหน่วยงานควบคุมดันเจี้ยนไว้ภายใต้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองญี่ปุ่น เเต่ใครมันจะไปย้ายออกจากญี่ปุ่นเเล้วไปอาศัยอยู่ในดันเจี้ยนกันเล่า
สุดท้ายเเล้วกระทรวงเเละหน่วยงานเหล่านี้ก็ต้องมาตกลงกัน เเต่การหาข้อตกลงที่ทำให้ทุกฝ่ายพอใจนั้นเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งหน่วยงานดันเจี้ยนก็ได้ถูกสร้างขึ้น ซึ่งหน่วยงานดังหล่าวนั้นไม่ได้ขึ้นตรงอยู่กับกระทรวงใดๆ
ชายที่พึ่งวางสายไปนั้นถอนหายใจ
“ทำไมถึงทำหน้าอย่างงั้นล่ะ” เพื่อนร่วมงานถาม
“เราได้รับโทรศัพท์แบบเดิมๆมาหลายรอบเเล้วตั้งเเต่เช้านี้ เป็นใครก็ต้องเหนื่อยใช่ไหมล่ะ พวกเราเป็นเเค่หน่วยงานที่ไม่มีความสำคัญ ทำหน้าที่เเค่เป็นตัวกลางเท่านั้นเอง ถึงจะติดต่อมามากขนาดไหน เราก็ทำอะไรให้ไม่ได้นี่”
“อ๋อ พวกนั้นโทรมาเรื่องการประมูลใช่ไหม”
“ใช่ พวกนั้นเอาเเต่ถามว่า ‘เป็นเรื่องหลอกลวงรึเปล่า’ ฉันจะไปรู้ได้ยังไงเล่า โทรไปหาแผนกอาชญากรรมทางไซเบอร์ของกรมตำรวจสิ ให้ตายเถอะ”
“เเต่ก็มีการเเสดงหมายเลขใบอนุญาติการค้าของผู้ขายให้ทุกคนเห็นเเล้วนะ…หรือเราควรส่งเรื่องต่อไปที่สำนักงานความปลอดภัยสาธารณะดี”
พอคิดเรื่องนี้สักพัก ชายคนที่คอยรับสายโทรศัพท์ก็พยักหน้า ไม่มีอะไรที่เขาชอบมากไปกว่าการโยนงานให้คนอื่น
“ฟังดูดีนี่ ดูเเล้วเรื่องนี้น่าจะเกียวกับสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะ นายรายงานไปที่คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติพร้อมกับจำนวนสายที่เราได้รับทั้งหมด อ้อ ฝากส่งไปที่แผนกการจัดการดันเจี้ยนของJDAด้วย”
“ใช่ งานของที่นั่นก็ครอบคลุมหลายอย่างเหมือนกัน”
“ในดันเจี้ยนมีอะไรหลายๆอย่างเกิดขึ้นตลอด ไม่อิจฉาพวกนั้นเลยสักนิด”
จนกว่าจะมีระบบที่เสถียรเเละลงตัว จำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานที่“คอยทำทุกอย่างให้เสร็จ” เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมการติดต่อ เเต่ตราบเท่าที่ไม่มีใครมีสิทธิสั่งการเด็ดขาด ฉันก้ไม่อยากจะไปอยู่ในหน่วยงานนั้นเเน่ ชายคนนั้นคิดพร้อมถอนหายใจ
ด้วยเหตุนั้น ข้อมูลเรื่องการประมูลนั้นก็ได้ถูกส่งต่อจากหน่วยงานดันเจี้ยนไปยังสำนักงานความปลอดภัยสาธารณะ
แผนกอาชญากรรมทางไซเบอร์ของกรมตำรวจโตเกียว, ชินบาชิ (เขตมินาโตะ)
โดยปกติแผนกอาชญากรรมทางไซเบอร์ก็จะได้รับโทรศัพท์อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเรื่องที่อาจจะละเมิดกฏหมายอยู่เเล้ว เเต่โดยเฉพาะวันนี้พวกเขาได้รับโทรศัพท์เพื่อสอบถามเป็นจำนวนมากอย่างผิดปกติ ถึงเรื่องการประมูลที่อาจจจะเป็นการต้มตุ๋นหลอกลวง
“ไม่ครับ พวกเราไม่ทราบในเรื่องนั้น เเต่ถ้าพวกเขาไม่ได้ขายของผิดกฏหมาย ก็จะไม่ใช่อาชญากรรม หือ พวกตุ้มตุ๋นงั้นหรอ แต่ยังไม่มีผู้เสียหายใช่ไหม โอ๊ย!”
เพราะไม่ได้คำตอบที่ต้องการ คนๆนั้นได้ตวาดใส่พนักงงานเเละวางสายใส่
“เรื่องอะไรกัน” เพื่อนร่วมงานถาม “เกี่ยวกับการประมูลนั่นอีกเเล้วหรอ”
ชายคนที่รับสายเมื่อครู่นั้นกระเเทกโทรศัพท์กลับเข้าที่ “ใช่”
“ทำไมงานให้คำปรึกษาของเราถึงมีเเค่ผ่านโทรศัพท์กันนะ สิ่งเดียวที่บริการนี้มีผลคือ การช่วยเพิ่มความเครียดของพนักงาน กับเป็นการใช้เวลาของพนักงานไปโดยเปล่าประโยชน์เท่านั้นเอง เรื่องเเค่นี้ใช้อีเมลล์ไม่ได้รึไง”
“เคาเตอร์ต้อนรับของเราเปิดตอน 8.30ในตอนเช้า เเละปิดตอน 5.15 ในตอนเย็นของทุกๆวันธรรมดา เท่านี้ก็ตอบคำถามนายรึยัง”
ชายคนที่ถามนั้นยักไหล่เเละตอบว่า “งานของแผนกเรานั้นคือการรับมือกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ฉ้อโกง หมิ่นประมาท ข่มขู่ กรรโชก ลามกอนาจาร เเละเเละการมุ่งร้ายคู่เเข่งทางธุรกิจ” เขาพูดเเล้วเกาหัว “ถ้ายังไม่มีอาชญากรรมเกิดขึ้น พวกเราก็ทำอะไรไมไ่ด้”
“พูดในอีกเเง่คือ พวกเขาอยากให้เราตรวจสอบเพราะมัน อาจจะ เป็นอาชญากรรม”
“ถ้าเราตัดสินใจว่าจะต้องตรวจสอบเรื่องนี้ เราก็จำเป็นต้องตรวจสอบการประมูลออนไลน์ทุกๆที่ใช่ไหมล่ะ ‘ของที่ขายเป็นของเเท้รึเปล่า’ ‘ไม่ได้หลอกลวงใช่ไหม’” เรากำลังอยู่ในดิสโทเปียรึไงกัน(3)
“แแต่ถ้าดูจากของที่เอามาประมูล ก็เข้าใจได้นะที่ทุกคนจะสงสัย เเต่ว่า…เเค่วางเเผนจะทำการฉ้อโกงมันยังไม่เป็นอาชญากรรมนี่สิ”
ในจังหวะวางเเผน นี้หมายความว่าอาชญากรรมนั้นยังไม่ได้เกิดขึ้น เเต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริง ผู้กล่าวหาอาจจะถูกตั้งข้อสงสัยถึงการสมคบคิดด้วยเช่นกัน
“สิ่งที่พวกเขาพยายามขาย อาจจะดูเป็นไปไม่ได้ เเต่ตราบใดที่มันไม่ผิดกฏหมาย เราก็ไม่สามารถออกหมายจับอะไรได้”
“งั้นตอนนี้ เราส่งรายงานกับคำถามไปหาJDAก็เเล้วกัน หมายเลขใบอนุญาติการค้าก็ถูกระบุไว้ชัดเจนด้วย พวกเขาน่าจะระบุตัวคนขายได้ทันที”
พอพูดจบ เสียงโทรศัพท์ก็ดังขึ้นอีกครั้ง เหมือนกำลังขู่ว่า “รับสายฉันเดี๋ยวนี้”
ขอให้เป็นเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องประมูลด้วยเถอะ ชายคนนั้นภาวนา เเต่เเน่นอนว่าคำอธิฐานของเขามันไม่ได้ผล
(1) ล้อเลียนกอลลัม จากเดอะลอร์ดออฟเดอะริง
(2) ตราประทับของประเทศญี่ปุ่น เป็นสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมญี่ปุ่น มักใช้แทนลายเซ็นในการเซ็นเอกสารสำคัญหรือทำธุรกรรมต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีการใช้งานอยู่ในหน่วยงานรัฐ
(3) ดิสโทเปีย : สังคมหรือโลกที่มีสภาพเลวร้ายและไม่เหมาะสม ซึ่งมักเกิดจากการปกครองที่ไม่เป็นธรรม ความทุจริต หรือการขาดการดูแลสุขภาพและสวัสดิการของประชาชนในระดับที่ร้ายแรง